บทที่ 15 การสร้างแบบฟอร์มและรายงาน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสร้างแบบฟอร์มและรายงาน      
      การออกแบบฟอร์มและรายงาน ในระบบงานใด ๆ เมื่อมีการดำเนินงานจะมีข้อมูลที่เข้าสู่ระบบเพื่อประมวลผล และทำให้ได้ข้อมูล ออกจากระบบ โดยการทำงานภายในของระบบเองก็จะมีข้อมูลที่เข้าสู่ขั้นตอนการทำงานเพื่อประมวลผลให้ ได้เป็นข้อมูลและออกจากขั้นตอนการทำงานนั้นไปยังขั้นตอนการทำงานต่อไป ซึ่งจะอยู่ในรูปของแบบฟอร์ม และรายงานต่าง ๆ ดังนั้นนักวิเคราะห์และออกแบบระบบจะต้องออกแบบหรือสร้างตัวต้นแบบของ แบบฟอร์มและรายงานที่เกิดขึ้นในระบบที่กำลังพัฒนา เพื่อนำเสนอต่อผู้ใช้งานและผู้บริหารเพื่อเป็นการ ยืนยันความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการในระบบใหม่
          การออกแบบแบบฟอร์มและรายงานสามารถตรวจสอบได้จากแผนภาพกระแสข้อมูล (DFD) ได้ว่าจะ มีแบบฟอร์มอะไรบ้างที่ไหลเข้าสู่ Process และมีข้อมูลใดบ้างที่ไหลออกจาก Process นั้นจะทำให้ทราบว่า มีรายงานอะไรบ้าง
การออกแบบฟอร์มและรายงาน
1.       เก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานแบบฟอร์มและรายงาน สามารถทำพร้อมกับการรวบรวม ข้อมูลในขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ จะช่วยให้การออกแบบระบบมีความรวดเร็วขึ้น
2.       ร่างแบบฟอร์มและรายงาน เมื่อได้ข้อมูลการใช้งานแบบฟอร์มและรายงานแล้ว จะต้อง นำมาออกแบบแบบฟอร์มและรายงาน โดยการร่างแบบเพื่อสอบถามผู้ใช้งานระบบว่าถูกต้องหรือไม่ หรือ ต้องการแก้ไขส่วนใดเพิ่มเติมหรือไม่จนกว่าผู้ใช้ระบบจะพอใจ
3.       การสร้างตัวต้นแบบ หลังจากร่างแบบฟอร์มและรายงานและนำเสนอต่อผู้ใช้ระบบจน เป็นที่ยอมรับแล้ว จะต้องใช้เครื่องมือสร้างตัวต้นแบบเพื่อสร้างต้นแบบระบบไปให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งาน เครื่องมือการสร้างตัวต้นแบบ เช่น โปรแกรมภาษาที่ใช้สร้างจอภาพ Visual Basic เป็นต้น
     การจัดรูปแบบฟอร์มและรายงาน
          การออกแบบฟอร์มและรายงาน ควรคำนึงถึงการจัดรูปแบบในการแสดงผลข้อมูลและ สารสนเทศ เพื่อนำเข้าสู่ระบบได้สะดวกและผิดพลาดน้อยที่สุด ดังนี้
1. สื่อที่ใช้ในการแสดงผล
          การแสดงผลจะต้องมีสื่อที่ใช้ในการแสดงผล เช่น แสดงผลทาง กระดาษ แสดงผลทางจอภาพ ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบในการออกแบบว่าควรจะแสดงผลบนสื่อ ชนิดใดให้เหมาะกับการใช้งาน นอกจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องออกแบบเพิ่มเติมว่าจะต้องได้ข้อมูล นั้น ๆ มาจากการประมวลผลแบบใด เพื่อนำไปกำหนดว่าเป็นแบบฟอร์มและรายงานใด โดยจะต้อง แสดงผลต่อผู้ใช้ระบบทันที หรือต้องรอการเก็บรวบรวมแล้วจึงทำการประมวลผลจึงแสดงผลการประมวล ข้อมูลนั้นต่อผู้ใช้ระบบในภายหลัง เป็นต้น
          (1) การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line Processing) เป็นการประมวลผลสารสนเทศ และแสดงผลต่อผู้ใช้ระบบทันที่ที่มีการทำรายการ ลักษณะการทำงานที่เหมาะกับการประมวลผลแบบนี้
ได้แก่
(ก) การเข้าถึงข้อมูลจะมีลักษณะแบบสุ่ม (Random Access)
(ข) ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการค้นหามีรูปแบบและชนิดไม่คงที่ เช่น การสืบค้นข้อมูลของ ผู้ใช้ระบบตามความต้องการงาน
(ค) ข้อมูลเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มากที่สุดจึงเหมาะแก่การดึงข้อมูลมาใช้งานเพื่อการตัดสินใจ
(ง) ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบเดียวกันได้จากสถานที่ต่างกัน
          (2) การประมวลผลแบบแบตช์ (Batch Processing) เป็นการประมวลผลข้อมูลที่จะต้อง มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นไว้ช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อรอการประมวลผลพร้อมกันในครั้งเดียว ณ ช่วงเวลาที่ ได้มีการกำหนดไว้อย่างแน่นอน การเก็บรวบรวมเพื่อประมวลผลแบบกลุ่มนั้นเมื่อผ่านการประมวลผลแล้ว สามารถนำไปเป็นสารสนเทศเพื่อแสดงผลแบบออนไลน์หรือแสดงผลบนกระดาษได้ ลักษณะการทำงานที่ เหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่ม ได้แก่
(ก) ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการค้นหามีรูปแบบและชนิดที่คงที่แน่นอน
(ข) มีช่วงเวลาในการใช้ข้อมูลที่แน่นอน
2. หลักในการจัดรูปแบบการแสดงผลบนแบบฟอร์มและรายงาน ดังนี้
          (1) ส่วนของหัวเรื่อง (Titles) แบบฟอร์มและรายงานควรมีลักษณะที่เข้าใจได้ง่าย และ สื่อความหมายถึงเนื้อหาที่อยู่ในแบบฟอร์มและรายงาน ต้องมีวันที่ที่จัดทำรายงานและเป็นวันที่ถูกต้อง เสมอ และจะต้องมีรหัสของแบบฟอร์ม
          (2) มีข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งาน ส่วนของสารสนเทศที่จะแสดงอยู่บนแหล่งเอกสาร แบบฟอร์มและรายงานจะต้องเป็นสารสนเทศหรือข้อมูลที่จำเป็น ต้องเป็นสารสนเทศที่เตรียมไว้เพื่อการใช้ งานที่ตรงกับงาน
           (3) มีการจัดวางที่สมดุล การจัดวางสารสนเทศบนแบบฟอร์มและรายงาน รวมถึงหน้า จอแสดงผลจะต้องมีการจัดวางสารสนเทศบนกระดาษและหน้าจอแสดงผลควรมีความสมดุล ควรมีระยะ ห่างระหว่างข้อความและส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม และมีช่องป้อนข้อความจะต้องมีหัวเรื่องระบุอย่างชัดเจน
          (4) ใช้งานง่าย ส่วนแสดงแนวทางการใช้งานของผู้ใช้ระบบจะต้องมีสัญลักษณ์เพื่อเป็น แนวทางให้กับผู้ใช้งานระบบอย่างชัดเจน ชี้นำผู้ใช้ในการทำงานในส่วนต่อไปได้ รวมทั้งมีข้อความแสดง สถานการณ์ใช้งานของผู้ใช้ชัดเจน กรณีที่เอกสารมีหลายหน้าควรมีข้อความแสดงให้ผู้ใช้ทราบเมื่อถึงหน้า สุดท้าย
          หากนักวิเคราะห์ระบบทำการออกแบบฟอร์มและรายงานอย่างไม่มีหลักเกณฑ์จะทำให้ แบบฟอร์มและรายงานที่ได้นั้นยากต่อการนำไปใช้ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบส่งผลให้เกิดความผิดพลาดตามมา
3. รูปแบบการแสดงผลด้วยการเน้นข้อความ
          การเน้นข้อความที่เป็นข้อมูลบนแบบฟอร์ม และรายงาน จะทำให้ผู้ใช้ให้ความสนใจกับข้อมูลที่ได้รับป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยัง ช่วยให้แบบฟอร์มหรือรายงานนั้นดูง่ายขึ้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้
(1) ใช้สีที่มีความแตกต่างจากข้อความอื่น
(2) ใช้ตัวอักษรกระพริบ
(3) ใช้ตัวอักษรที่มีรูปร่างหนากว่าข้อความอื่น
(4) ใช้ขนาดแตกต่างจากข้อความอื่น
(5) ใช้รูปแบบตัวอักษรแตกต่างจากข้อความอื่น
(6) แสดงข้อความให้อยู่ในรูปของคอลัมน์
(7) ขีดเส้นใต้ให้กับข้อความ
(8) ใช้อักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
(9) วางในตำแหน่งที่แตกต่างจากข้อความอื่น
          ในแบบฟอร์มและรายงานสามารถออกแบบโดยเน้นข้อความได้หลายรูปแบบ โดยต้องคำนึงถึงลำดับความสำคัญของข้อความที่ต้องการเน้น
4. รูปแบบการแสดงผลแบบมีสีและขาวดำ
          การแสดงผลแบบฟอร์มและรายงานแบบมีสี และขาวดำจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้ระบบแตกต่างกัน เนื่องจากการแสดงผล แบบมีสีสามารถให้ความรู้สึกอ่อนโยนเวลามอง แสดงให้เห็นถึงการเน้นข้อความหรือการให้ความสำคัญแก่ ข้อความหรือสารสนเทศบนแหล่งเอกสารได้ ช่วยให้สามารถแบ่งแยกรายละเอียดที่มีความซับซ้อนให้ดูได้ ง่ายขึ้น และสามารถเน้นส่วนที่เป็นข้อความเตือนให้เด่นชัดขึ้นได้ แต่จะเป็นปัญหาต่อผู้ใช้งานที่มีอาการ ตาบอดสี และความละเอียดของสีอาจจะมีค่าเปลี่ยนแปลงเมื่อใช้กับอุปกรณ์ต่างชนิดกัน ทำให้ความ ถูกต้องของสีอาจคลาดเคลื่อนเมื่อมีการใช้กับอุปกรณ์ต่างชนิดกัน
5. รูปแบบการแสดงผลแบบข้อความ
          การแสดงผลแบบข้อความมีลักษณะเป็นการ อธิบายหรือการบรรยาย พบได้ในส่วนแสดงความช่วยเหลือจากโปรแกรมประยุกต์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กระดานประชาสัมพันธ์ และเว็บเพจที่ให้บริการข้อมูลความรู้ต่าง ๆ การออกแบบส่วนแสดงผลแบบข้อความ มีหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) การเขียนข้อความใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการเขียนทั่วไป คือ มีการใช้ตัวอักษรพิมพ์ ใหญ่เมื่อขึ้นต้นประโยคและตามด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก มีเครื่องหมายวรรคตอนตามปกติ
(2) ระยะห่างระหว่างบรรทัดภายในย่อหน้าเดียวกันให้เว้นระยะห่าง 1 ระยะบรรทัดปกติ ส่วนระยะห่างระหว่างย่อหน้าให้เว้นบรรทัดว่าง 1 บรรทัด
(3) ควรมีการจัดข้อความให้ชิดซ้ายและเว้นระยะขอบด้านขวาพอสวยงาม
(4) ไม่ควรใช้เครื่องหมายขีดกลาง (-) เพื่อแสดงการเชื่อมต่อคำระหว่างบรรทัด
(5) ใช้คำย่อเฉพาะข้อความที่เห็นว่ามีความยาวมากเกินไป
6. รูปแบบการแสดงผลแบบตารางและรายการ
          การออกแบบการแสดงผลแบบตารางและ รายการจะทำให้ผู้ใช้ระบบสามารถทำความเข้าใจสารสนเทศนั้นได้ง่ายกว่าการแสดงผลแบบข้อความและ การแสดงผลแบบอื่น ๆ การออกแบบตารางและรายการจึงมีความสำคัญต่อแหล่งเอกสารที่เป็นแบบฟอร์ม และรายงาน โดยมีหลักเกณฑ์การออกแบบดังนี้
          (1) การสื่อความหมายในตาราง
- ควรใช้ชื่อตาราง คอลัมน์ และแถวที่สื่อความหมายของข้อมูลที่มีอยู่ในแต่ละ คอลัมน์และแถวชื่อของตาราง คอลัมน์ และแถว ควรจะเน้นเพื่อให้ดูชัดเจนและแตกต่างจาก ข้อมูลธรรมดา
- กรณีที่ตารางข้อมูลหรือรายการข้อมูลนั้นมีมากกว่า 1 หน้า ควรมีการแสดงหัวตาราง ใหม่ทุกครั้งที่ขึ้นหน้าใหม่
          (2) การจัดรูปแบบของคอลัมน์ แถว และข้อความ
- ควรมีการเรียงลำดับข้อมูลในตาราง เช่น เรียงจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อย เป็นต้น
- ทุกครั้งที่มีการแสดงขอมูลในตารางครบ 5 บรรทัด หรือ 5 Record ควรมีบรรทัด ว่าง 1 บรรทัด แล้วจึงแสดงข้อมูลในบรรทัดต่อไป
- ควรมีระยะห่างระหว่างคอลัมน์พอสมควร
- บนแหล่งเอกสารที่เป็นแบบฟอร์มหรือรายงาน ควรมีที่ว่างเพื่อให้สามารถบันทึก ข้อความสั้น ๆ ได้
- ควรใช้ตัวอักษรแบบธรรมดายกเว้นข้อความที่ต้องการเน้นควรใช้ตัวหนา
- ไม่ควรใช้รูปแบบตัวอักษรหลายรูปแบบบนเอกสารเดียวกัน เนื่องจากจะทำให้ไม่ น่าอ่าน

          (3) การจัดรูปแบบให้กับข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และตัวอักษรปนตัวเลข
- ควรจัดข้อมูลที่เป็นตัวเลขให้ชิดขวาและจัดวางให้จุดทศนิยมตรงกันทุกบรรทัด
- สำหรับข้อมูลที่เป็นข้อความ ควรกำหนดจำนวนตัวอักษรที่แสดงต่อ 1 บรรทัด โดยทั่วไปจะกำหนดไว้ที่ประมาณ 30-40 ตัวอักษรต่อบรรทัด เนื่องจากจะทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านได้อย่าง รวดเร็วและจับใจความได้ง่ายขึ้น
- สำหรับข้อมูลที่เป็นตัวอักษรปนตัวเลข ควรกำหนดจำนวนตัวอักษรต่อ 1 กลุ่มคำ ประมาณ 3-4 ตัวอักษร
7. รูปแบบการแสดงผลแบบตารางและกราฟ
          ใช้ในกรณีที่ข้อมูลเป็นตัวเลข ซึ่งจะช่วยให้ ผู้ใช้งานเข้าใจสารสนเทศนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น สามารถอ่านค่าของข้อมูลได้จากตัวเลขทันที และการแสดงผล ข้อมูลตัวเลขด้วยกราฟจะทำให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขเป็นช่วงระยะเวลาได้ จึงเหมาะสำหรับ ลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น สรุปผลข้อมูล แสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตัวเลขนั้น เปรียบเทียบข้อมูลตัวเลขที่มีค่าแตกต่างกัน และแสดงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพยากรณ์ค่าตัวเลข ในอนาคต
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
          การออกแบบส่วนนำเข้าข้อมูล (Input Design)
          คุณภาพของข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ระบบจะมีผลต่อคุณภาพและความสมบูรณ์ของรายงาน ใน การออกแบบส่วนนำเข้าข้อมูลจะเริ่มด้วยการศึกษาข้อมูลเพื่อกำหนดเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้น หรือ แบบฟอร์มที่ใช้สำหรับบันทึกรายการข้อมูลต่าง ๆ ก่อนที่ผู้บันทึกข้อมูลจะนำแบบฟอร์มเหล่านี้ไป
          1. การกำหนดวิธีการประมวลผล ความสำคัญการออกแบบส่วนนำเข้าข้อมูล คือ ข้อมูล นาเข้าสู่ระบบถูกต้อง ครบถ้วน มีคุณภาพ และสามารถใช้งานง่าย โดยต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ที่ใช้รับข้อมูล ด้วย เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกนเอกสาร เครื่องอ่านบาร์โค้ด ไมโครโฟน จอภาพ เป็นต้น การตัดสินใจ เลือกการนำเข้าข้อมูลให้พิจารณาคุณลักษณะงานและความต้องการขององค์กรเป็นหลักว่ามีการประมวลผล แบบแบตซ์หรือมีวิธีการประมวลผลแบบออนไลน์
          2. การควบคุมปริมาณการนำเข้าข้อมูล คือ การลดปริมาณข้อมูลในแต่ละรายการด้วยการ คัดเลือกนำเข้าข้อมูลที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น เมื่อสามารถควบคุมปริมาณได้จะสามารถลดโอกาส ความผิดพลาดในข้อมูล และลดค่าใช้จ่ายในการคีย์ข้อมูลเข้าระบบ ในการควบคุมปริมาณข้อมูลนำเข้าจะ พิจารณาดังนี้
(1) คัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น
(2) ใช้รหัสในการแทนข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดเวลาและข้อผิดพลาดในการคีย์ข้อมูล
(3) ใช้ข้อมูลที่เป็นค่าคงที่หรือเป็นข้อมูลที่ทุก ๆ Transaction ใช้งานเหมือนกันหมด เช่น วันที่ป้อนข้อมูล หากมีการป้อนในครั้งแรกแล้ว การ Transaction ใน Record ต่อไปไม่จำเป็นต้องป้อนวันที่ ใหม่ ซึ่งสามารถดึงวันที่จากระบบมาใช้งานได้ ทำให้ช่วยลดเวลาลง
          3. การควบคุมข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ เป็นการควบคุมคุณภาพของ การนำเข้าข้อมูล เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดของข้อมูล ระบบต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่นำเข้าระบบ โดยมี การแจ้งเตือนหากป้อนข้อมูลผิด และเมื่อแก้ไขให้ถูกแล้วสามารถบันทึกรายการนี้เข้าสู่ระบบได้ การควบคุม ข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูล ทำได้ดังนี้
(1) ตรวจสอบว่ามีการคีย์ข้อมูลหรือไม่ ข้อมูลในแต่ละฟิลด์ ผู้ป้อนข้อมูลอาจข้ามไป ทำให้ไม่มีข้อมูลหรือข้อมูลเป็นช่องว่าง ระบบต้องร้องเตือนให้มีการคีย์ข้อมูล ก่อนดำเนินการในขั้นต่อไป
(2) ตรวจสอบชนิดข้อมูล เป็นการตรวจสอบเพื่อความมั่นใจในข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ ว่าตรงกับชนิดข้อมูลที่ต้องการหรือไม่ เช่น ข้อมูลที่ป้อนต้องเป็นค่าตัวเลขหรือตัวอักษร หากป้อนผิดประเภท จะต้องแก้ไขให้ถูกต้องก่อน
(3) ตรวจสอบช่วงข้อมูล เป็นการตรวจสอบค่าที่เป็นไปได้ของข้อมูลที่นำเข้าไป เช่น คะแนนสอบปลายภาคของนักศึกษาจะต้องอยู่ในช่วงคะแนนต่ำสุด คือ 0 ถึงคะแนนสูงสุดคือ 100 ซึ่ง คะแนนจะมีค่าติดลบหรือสูงเกินกว่า 100 ไม่ได้
(4) ตรวจสอบความสอดคล้อง เป็นการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างฟิลด์สองฟิลด์ หรือมากกว่า ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้องกันอย่างสมเหตุสมผล เช่น นักศึกษาที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ ไม่มีความสอดคล้องในข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเลย ก็จะต้องเลือกสาขาในคณะวิทยาศาสตร์เท่านั้น จะเลือกสาขาที่สังกัดคณะบริหารธุรกิจก็คงเป็นไปไม่ได้ ซึ่ง
(5) การใช้วิธีการตรวจสอบค่าตัวเลข ในการป้อนข้อมูลที่เป็นค่าตัวเลข บ่อยครั้งที่ผู้ใช้ หรือไม่ โดยทำการเพิ่มค่าตรวจสอบเข้าไปอีก 1 บิต มักกรอกค่าตัวเลขผิดพลาด สามารถใช้วิธี Check Digit ในการตรวจสอบว่าค่าตัวเลขที่นำเข้าข้อมูลถูกต้อง
(6) การตรวจสอบยอดรวม ในกรณีใช้วิธีการประมวลผลแบบแบตช์ (Batch Controls) ในกรณีที่ป้อนข้อมูลแบบแบตช์ที่มีจำนวน Transaction มาก จำเป็นต้องทำการตรวจสอบ เช่น ข้อมูลใน แต่ละแบตช์ต้องมีหมายเลขแบตช์ จำนวนเอกสารและยอดรวม เช่น ระบบเงินเดือนมียอดรวมเงินสุทธิของ ค่าแรงทั้งหมดที่ต้องจ่าย โดยยอดนี้จะต้องตรงกับยอดรายการค่าแรงของพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด เป็นต้น หากเปรียบเทียบกันแล้ว ปรากฏว่ายอดไม่ตรงกัน นั่นหมายความว่าข้อมูลที่ป้อนเข้าไปมีข้อผิดพลาดแล้วการออกแบบฟอร์มและรายงาน
          ในระบบงานใด ๆ เมื่อมีการดำเนินงานจะมีข้อมูลที่เข้าสู่ระบบเพื่อประมวลผล และทำให้ได้ข้อมูล ออกจากระบบ โดยการทำงานภายในของระบบเองก็จะมีข้อมูลที่เข้าสู่ขั้นตอนการทำงานเพื่อประมวลผลให้ ได้เป็นข้อมูลและออกจากขั้นตอนการทำงานนั้นไปยังขั้นตอนการทำงานต่อไป ซึ่งจะอยู่ในรูปของแบบฟอร์ม และรายงานต่าง ๆ ดังนั้นนักวิเคราะห์และออกแบบระบบจะต้องออกแบบหรือสร้างตัวต้นแบบของ แบบฟอร์มและรายงานที่เกิดขึ้นในระบบที่กำลังพัฒนา เพื่อนำเสนอต่อผู้ใช้งานและผู้บริหารเพื่อเป็นการ ยืนยันความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการในระบบใหม่
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนดุ๊กดิ๊กขอบคุณ

ความคิดเห็น